ประเทศไทยเดินหน้าแผนการพัฒนาจนกลายเป็นประเทศตัวอย่างที่มีเรื่องราวความสำเร็จที่น่าสนใจยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนประชาการยากจนจากเกือบร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดในปี 2529 จนเหลือเพียงร้อยละ 11 ในปี 2556 หรือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่มีอัตราก้าวหน้าเฉลี่ยที่ร้อยละ 7.5 ในช่วงปลายทศวรรษ 80 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 90 (พ.ศ. 2523-2533) ซึ่งได้ช่วยสร้างงานให้ประชากรไทยหลายล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักยังคงเป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากร้อยละ 17 ของประชากรไทย หรือ ประมาณ 7 ล้านคน ต้องอาศัยอยู่ใต้เส้นความยากจน และอีกประมาณ 7 ล้านกว่าคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกสู่สภาวะความยากจนอีกครั้ง แม้ว่าช่องว่างความไม่เท่าเทียมได้แคบลงเรื่อยๆ ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การกระจายความมั่งคั่งให้คนในชาติยังคงไม่ทั่วถึงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ครัวเรือนและการบริโภคก็ยังคงมีอยู่มากทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยความหนาแน่นของประชากรที่ยากจนนั้นอาศัยอยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับลมต้าน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับไม่สูงนัก ขีดความสามารถในการส่งออกลดลง↧